วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุป Fauvism Expressionism Cubism Abstractionism Futurism

ศิลปะลัทธิโฟวิสม์  Fauvism

      หมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า 
· เมื่อเปรียบกับรูปแบบศิลปะสมัยเรอแนสซองส์ซึ่งงามตามหลักสุนทรียภาพเดิม ขณะที่ผลงานของ กลุ่มศิลปินศิลปะลัทธิโฟวิสม์กลับให้สีสันโฉ่งฉ่าง 
· แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด

ศิลปินลัทธิโฟวิสม์

มาทีสส์ (Matisse, Henri 1869-1954)

ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ 
· งานสำคัญคือ ภาพ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง” “ ห้องสีแดง” 
·มาทีสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียดแบบโฟวิสม์ผ่านงานประติมากรรมด้วยและเป็นที่ยอมรับทั่วไป 
· ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก



Henri Matiss. Odalisque with a Tambourine. Nice, place Charles-Félix, winter 1925-26


มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, ๑๙๐๕



ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์ 
Expressionism Art

หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะ ที่ตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุด ตามแรงปรารถนา

ศิลปินสำคัญ ได้แก่ มาทีสส์ (Henri Matisse), เบคมานน์( Max Beckmann),รูโอลท์ ( Georges Rouault),
Gen Paul, มาร์ค(Franz Marc), แคนดินสกี(Wassily Kandinsky) โนลเด(Emil Nolde)

ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี 2 กลุ่ม คือ
1.ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge) 
      · สะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา ความสกปรกของ  สังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง
      ·ใช้สีที่รุนแรง
2.กลุ่มม้าสีน้ำเงิน(The Blue Rider)
       ชื่อลัทธิมาจากความนิยมในการเขียนรูปม้า และคนขี่ม้าของแกนนำทั้งสอง โดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก




ศิลปะลัทธิ
Cubism  Art


·        ลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่ายจากผลงานของเซซานน์ โดยแทนค่ารูปทรงด้วยแสงสีอันระยิบระยับ ให้บรรยากาศตามช่วงเวลาเท่านั้น
แนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะลัทธิคิวบิสม์
1.ตัดทอน ย่อส่วน เพิ่มเติม และตกแต่งรูปทรงของวัตถุ ถือหลักการเพิ่มของส่วนประกอบ เพื่อให้ผลงานสมบูรณ์
2.คำนึงถึงรูปทรงเปิดและปิด โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างในส่วนรูปทรงและพื้นผิว
3.คำนึงถึงความตื้นลึกด้วยรูปทรง ขนาด การทับซ้อนกัน การบังคับและการทำให้โปร่งใสคล้ายภาพเอ็กซเรย์
4.เปิดโอกาสให้ผู้ดูมีเสรีภาพในการใช้ปัญญาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง ถือว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ผู้ดูสามารถชื่นชมด้วยตนเอง
5.คำนึงถึงความกลมกลืนของทัศนธาตุ(เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว) เมื่อประกอบกันเป็นเรื่องราวที่รู้จักเป็นอย่างดี รูปทรงที่เด่นได้แก่รูปทรงที่เกิดจาก เส้นเว้า เส้นตรงผสานกันอย่างเหมาะสม
6.คำนึงถึงส่วนย่อยและส่วนรวมพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนพอ ๆ กับคำนึงถึงลักษณะผิวหน้าของวัสดุแต่ละชนิด


PICASSO, "Guernica"  สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937


"La Vie" by Pablo Picasso 274 x 417



ศิลปะลัทธินามธรรม 
Abstractionism Art

ศิลปะนามธรรม
จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
 สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ
· ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที 



2.ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค 

· สร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์
· โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน(Mondrian) เป็นผู้นำ
· ให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม (Op Art) ในอเมริกา





ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)


        ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ· มุ่งแสดงความรู้ เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป 
· ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่

ศิลปินลัทธิฟิวเจอริสม์

ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/ บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/ เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)




7 มหัศจรรย์ของโลกยุคต้น




1.สถานที่ตั้ง เมืองกิเซห์ ประเทศอียิปต์ 
  พีระมิดเป็นที่เก็บพระศพของกษัตริย์อียิปต์ในสมัยโบราณ ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ห่างไปทางตอนใต้ของเมืองอเลกซานเดรีย ประมาณ 160 กิโลเมตร สร้างด้วยหินเป็นรูปกรวยเหลี่ยม เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนคริสตกาล กินเนื้อที่ในบริเวณพีระมิด 131 เอเคอร์ พีระมิดนี้ สูงถึง 147 เมตร ฐานกว้างด้านละ 230 เมตร ใช้ก้อนหินในการก่อสร้าง 2500000 ก้อน หนักก้อนละ 2 ตันครึ่ง บางก้อนหนักถึง 16 ตัน รวมน้ำหนักกว่า 6,000,000 ตัน มีการเตรียมการสร้างถึง 10 ปี ใช้กรรมกรก่อสร้างประมาณ 100000 คน มาใช้แรงงานถึง 20 ปี เพื่อสร้างพีระมิดดังกล่าวให้สำเร็จจนลุล่วง ปัจจุบันส่วนยอดของพีระมิดทรุดโทรมลงจนมีความสูงเพียง 137 เมตร


แหล่งที่มา  http://www.gotoknow.org/posts/189539?




2.สวนลอยบาบิโลน (อังกฤษ: Hanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช


แหล่งที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/สวนลอยบาบิโลน 




3.เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย (อังกฤษ: Statue of Zeus at Olympia) เป็นเทวรูปของซูส ซึ่งเป็นประธานเทวสภาโอลิมปัส สร้างจากไม้ ประดับด้วยทองคำและงาช้าง ลักษณะประทับนั่ง อยู่บนฐานกว้าง 10 เมตรครึ่ง ตัวเทวรูปสูงประมาณ 12 เมตร (43 ฟุต) พระหัตถ์ซ้ายถือคทา พระหัตถ์ขวารองรับไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะ มีเครื่องประดับด้วยทองคำล้วน ออกแบบก่อสร้างในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช โดย ฟิดิแอส ประติมากรชาวเอเธนส์ เทวรูปนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารซูส ที่โอลิมเปียประเทศกรีซ
เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ถือเป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณเช่นเดียวกับประภาคารฟาโรส หรือวิหารอาร์เทอมีสและถือเป็นสิ่งร่วมสมัยกับวิหารพาร์เธนอนเทวรูปนี้ถูกทำลายลงเพราะอัคคีภัยในปี ค.ศ. 475 ปัจจุบันนี้ไม่เหลือซากชิ้นส่วนใด ๆ หลงเหลืออยู่เลย


แหล่งที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย




4.วิหารอาร์เทอมีส (อังกฤษ: Temple of Artemis) หรือ วิหารไดอานา (อังกฤษ: Temple of Diana) ถูกยกย่องให้เป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคต้น เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายเทพีอาร์เทอมีส ซึ่งเป็นเทพที่พวกนายพรานเคารพบูชา
มหาวิหารนี้เคยถูกไฟไหม้ ภายหลังได้รับการซ่อมแซมโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากเสาเท่านั้น


แหล่งที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/วิหารอาร์เทอมีส




5.สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส หรือ สุสานแห่งโมโซลูส (อังกฤษ: The Mausoleum at Halicarnassus, Tomb of Mausolus, กรีก: Μαυσωλεῖον τῆς Ἁλικαρνασσοῦ) เป็นสุสานขนาดใหญ่ของกษัตริย์โมโซลูสแห่งลิเชีย ในเอเชียไมเนอร์ จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณสุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ตั้งอยู่ที่ฮาลิคาร์นัสเซิส ประเทศตุรกี ในปัจจุบัน สร้างขึ้นโดยราชินี อาเตมีสเซีย หลังการสวรรคตของพระสวามี สร้างขึ้นระหว่าง 353-350 ปีก่อนคริสต์ศักราช สร้างขึ้นมาจากหินอ่อนในระหว่างปี ค.ศ. 156-190 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ มีบันทึกไว้ว่า มีขนาดสูงถึง 140 ฟุต ฐานโดยรอบยาวถึง 460 ฟุต บนยอดสุดเป็นพื้นเหลี่ยมเล็กกว่าฐานล่าง ได้ปั้นเป็นรูปราชรถและม้า 1 ชุด กำลังวิ่ง และมีกษัตริย์และพระมเหสีประทับยืนอยู่บนราชรถม้า ประกอบด้วยลวดลายสวยงามมาก


แหล่งที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส




6.มหารูปแห่งโรดส์ (อังกฤษ: Colossus of Rhodes) เป็นเทวรูปขนาดใหญ่ของเทพเฮลิออส หรือ อพอลโล เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก จัดอยู่ในยุคเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ร่วมสมัยกับประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรียมหารูปแห่งโรดส์สร้างมาจากสำริด เป็นเทวรูปของสุริยเทพอพอลโล ซึ่งเป็นหนึ่งในเทวสภาโอลิมปัส มีความสูงประมาณ 100 ฟุต (30 เมตร) มือขวาถือประทีป ประดิษฐานบนฐานทั้งสองข้างของปากอ่าวทางเข้าท่าเรือของเกาะโรดส์ ในทะเลอีเจียน ยืนถ่างขาคร่อมปากอ่าวให้เรือลอดไปมาได้มหารูปนี้สร้างขึ้นโดย ชาเรสแห่งลินดอส ซึ่งเป็นประติมากรชาวกรีก ในราว 280 ปี ก่อนคริสตกาล ใช้เวลาสร้างประมาณ 12 ปี มีอายุยืนอยู่ได้ประมาณ 60 ปี ก่อนจะพังทลายลงด้วยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อ 226 ปี ก่อนคริสตกาล ซากชิ้นส่วนของมหารูปได้ถูกปล่อยปละละเลยไม่มีใครดูแล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซากที่เหลืออยู่ถูกขายให้แก่ชาวเมืองซาราเซน ไปทำอาวุธในการทำสงครามครูเสดจนหมด จนถึงปัจจุบันไม่มีเหลือซากของมหารูปนี้หลงเหลืออยู่แล้ว


แหล่งที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/มหารูปแห่งโรดส์





7.ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย (อังกฤษ: Pharos of Alexandria, Lighthouse of Alexandria, คำว่าฟาโรสในภาษากรีก (Φάρος) แปลว่าประภาคาร) เป็นประภาคารโบราณซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนเกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรียริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างประมาณ 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 โดยสถาปนิกชื่อ โซสเตรโตส


แหล่งที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เเหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลวงที่ประทับใจ(ศิลปวัฒนธรรมตะวันตก)

เมือง  lisbon



           โปรตุเกสเป็นประเทศที่เก่าแก่มากชาติหนึ่งในยุโรป เดิมดินแดนนี้มีชื่อว่า Lusitania ตั้งอยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย มีชนชาติต่างๆ เช่น ไอบีเรียน โรมัน มุสลิม และยิว ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนนี้ ก่อนที่จะได้ประกาศเป็นประเทศเอกราชในปี ค.ศ. 1128 ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมี Afonso Henriques เป็นกษัตริย์พระองค์แรก ในช่วงศตวรรษที่ 15 นับเป็ฯช่วงปีทองของโปรตุเกส มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งด้านการทหาร การค้า การเดินเรือ และการขยายอาณานิคม แต่มันก็เป็นธรรมดาของโลก เมื่อมีขึ้นได้ก็ต้องมีตกได้ ประเทศเริ่มเสื่อมอำนาจ อาณานิคมต่างๆ ประกาศแยกตัวเป็นอิสระเกือบทั้งหมด กลับกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรปตะวันตก จนภายหลัง ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เศรษฐกิจจึงค่อยๆ ดีขึ้น และลืมตาอ้าปากได้อย่างปัจจุบันนี้

โปรตุเกสขึ้นชื่อในการทำขนมหวานเป็นอย่างมาก ความอร่อยแผ่กระจายมาถึงบ้านเรา ทำให้เราได้มีขนมหวานแสนอร่อย อย่าง ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด หรือขนมหม้อแกง ไว้รับประทานล้างปากหลังอาหาร ซึ่งคุณจะหาดูขนมเหล่านี้ที่โปรตุเกสได้ไม่ยาก เพราะร้านขายขนมหวานที่นี่นั้นหาได้ง่ายกว่าภัตตาคารเสียอีก


   Lisbon Cathedral



Belem Tower


Sintra





เป็นไฮไลต์อีกอย่างที่นักท่องเที่ยวที่มาโปรตุเกสจะพลาดไม่ได้ และยังได้รับรองว่าเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกอีกด้วย Sintra แล้ว อยู่ห่างจากลิสบอนประมาณ 30 ก.ม. เป็นเมืองเล็กๆ สงบ น่ารัก อยู่กลางป่า บนยอดเขายังมีปราสาท Pena ปราสาทยุคอัศวินซ่อนตัวอยู่ในหมู่แมกไม้กลางอุทยานแห่งชาติ



แหล่งที่มา :\\  http://ptc.icphysics.com/webboard/SFM/index.php?topic=10895.0









ภาพประทับใจในลัทธิ impressionism

    


Boating on the seine 


        ภาพนี้เป็นภาพของแม่นำ Siene ในกรุง Paris จะเห็นได้ถึงเงานำที่ กระเพื่อม เป็นระรอก และมีการสะท้อนแสงโดยใช้ฝีแปรง ที่ขาดตอนเป็นช่วงๆ เพื่อที่จะจับความรู้สึกของความเคลื่อนไหว และแสงที่สั่นสะเทือน ฝีแปรงของ Renoir จะนุ่มเบาทั่วทั้งภาพ จะอาบอิ่มไปด้วยแสงแดดที่อบอุ่น ในภาพนี้เราจะ สัมผัสได้ ถึงทฤษฏีที่ เรียกว่า "Optical mixture" ซึ่งทำให้ภาพนี้ออกมาเก็บได้ถึงรายละเอียดในธรรมชาติ ได้อย่างหมดจด ทั้งแสงแดดทั้งอากาศ เงาของนํ้า ล้วนแล้วทำให้เป็นภาพที่มีทิวทัศน์ที่ปรอดโปร่ง อากาศถ่ายเท ได้มากที่สุดภาพหนึ่งนั่นเอง


แหล่งที่ม :\\ http://www.itrmu.net/web/03rs1/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=35

สรุป "เรอเนสซองซ์ บารอค รอคโคโค่ "

ศิลปเรอแนสซองส์


  จุดเริ่มต้นของศิลปะเรอแนสซองส์ 

         เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะให้ต่างจากยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จากผลงานนิโคลา ปิซาดน ผู้ออกแบบและสร้างแท่นสวน วัดที่เมืองปิชา เป็ดภาพนูนเกี่ยวกับประวัติของพระเยชูโดยใช้รูปแบบและกลวิธีอย่างประติมากรรมกรีก-โรมัน ประติมากรรมดังกล่าวจึงมีชื่อเสียงและกลายบันดาลใจให้กับศิลปินเรอแนสซองส์ระยะต่อมา ศิลปะเรอแนสซองส์ส่งผลให้มีผู้อุปถัมภ์ศิลปินอย่างคึกคัก สภาวการณ์ดังกล่าวจึงกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแองเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแดงเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกและวิศวกรส่วนเลโอนาร์โด ดาวินซี ก็เป็นทั้งศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร

ศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ ยุครุ่งเรือง

         ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีผลงานส่วนใหญ่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ได้รับการยกย่องในสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองผลงานของดาวินชีเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 นอกจากลีโอนาโด ดาวินชีแล้วศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองแล้วอัลเบรคท์ดูเรอร์ ศิลปินชาวเยอรมันก็ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผลงานสำคัญชิ่นหนึ่งคือภาพเหมือนศิลปิน จัดแสดงที่เมืองมิวนิคแต่ผลงานของเขากลับส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางแก่ศิลปินในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ยกเว้นเยอรมนี




การปฏิรูปศาสนา


            ในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14-15 สถาบันคริสต์ศาสนาประสบกับความท้าทายอำนาจอย่างมากจากหลายฝ่ายนอกจากพลังทางความคิดแบบปัจเจกชนนิยมแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมและการปกครองกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สั่นคลอนอำนาจของศาสนาจักร
กลุ่มที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาจักรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.กลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน
2.กลุ่มของเจ้าหน้าที่ในองค์การศาสนาคริสต์
แนวคิดและหลักการของลูเธอร์

            หลักการปฏิบัติของลูเธอร์ที่แตกต่างจากองค์การคริสต์ศาสนาจักรมี 3 ประการ ดังนี้
ศรัทธาโดยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ
อำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์คือสิ่งเดียวที่ตัดสินความถูกต้อง
คริสต์ศาสนิกชนทุกคนเป็นพระได้ทั้งนั้น


ความคิดทางการเมืองของลูเธอร์

             ในความคิดทางการเมืองลูเธอร์สนับสนุนอำนาจการปกครองสูงสุดของฝ่ายบ้านเมืองทั้งนี้เพราะลูเธอร์ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ไปมีส่วนรับผิดชอบในทางโลก เขายอมรับว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ของคนในบังคับที่ต้องเชื่อฟังฝ่ายปกครอง

แนวความคิดของจอห์น คาลแวง


            การปฏิรูปศาสนามีผลโดยตรงต่อประเทศตะวันตก กล่าวคือได้แบ่งแยกคริสต์ศสนิกชนเป็น 2 นิกายคือ นิกายโรมันคาทอลบิกสนับสนุนพระสันติปาปาแห่งกรุงโรมก็แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่างๆ จำนวนมากก่อให้เกิดปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก หลังจากที่หลายประเทศในยุโรปมีการปฏิรูปศาสนาและยอมรับนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งฝ่ายคาทอลิกประมาณว่าเป็นการปฏิวัติต่อต้านอำนมาจสูงสุดที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นการปฏิวัติทางศาสนา


ผลการปฏิรูปทางศาสนาที่มีต่อโลกตะวันตก


           การปฏิรูปศาสนา ทำให้สังคมตะวันตกซึ่งเคยมีคริสต์ศาสนาเป็นศูนย์รวมของผู้คนหลายหลายชาติภายใต้ศรัทธาและความเชื่อเดียวกันเกิดความแตกแยกและหันไปนับถือคริสตศาสนานิกายต่าง ๆ และเกิดขันติธรรมทางศาสนาทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาปรับปรุงประเทศของตนแทนการยึดติดกับศาสนา จนเกิดแนวทางใหม่ในสังคมตะวันตกโดยที่ผู้ปกครองเป็นอิสระจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ดังเช่นสมัยกลาง



แหล่งที่มา  http://art-west.weebly.com/3624363636213611362636173633361836483619362936493609362635953629359136263660.html



ศิลปะบารอค


  ยุคบารอคกำเนิดขึ้นเป็นครั้-แรกที่ประเทศอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วยุโรประหว่าง ค.ศ. 1550-1750 เจริญสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1680-1730 ในช่วงนี้มีชื่อเรียกว่ายุคในทางศิลปะ ระยะเวลา 200 ปีตั้งแต่ช่วงปลายยุคเรอแนสซองส์ได้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกไปจากสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองทั้งจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมวรรณกรรรมและคนตรีเรียกว่า ศิลปะบารอคคำว่า ลักษระที่ผิดเพี้ยนไปจากระเบียบวีคิดทางการสร้างสรรค์ต้นแบบ

จิตรกรรม

    จิตรกรรมสมัยบารอคเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาจิตรกรรมสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรือง โดยเน้นให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสงเงาเพื่อให้ดึงดูดความสนใจและความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ลักษณะเด่นอีกประการของจิตรกรรมบารอค คือ ภาพคนจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา
คาราวัคโจ
คาราวัคโจ ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นศิลปินสมัยบารอคคนแรก ที่ปูทางไว้ให้กับรูเบนส์ เรมบรานท์และเวอร์เมียร์ แม่นยำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของคน มักจะเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
เทคนิคแนวทางศิลปะของเรมบรานท์





         แทนที่จะเขียนภาพเพื่อเหตุผลทางศาสนาเขากลับกลับเขียนภาพที่มีเนื้อหาอื่นทำให้ภาพเขียนของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนที่ยิ่งใหญ่เทคนิคทางสิลปะที่เรมบรานท์ใช้คือความแตกแนเรื่องหลักกายวิภาคศาสตร์ ผสมผสานกับการจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆ ไว้ในความมืด และให้แสงสว่างจ้าเป็นจุดเน้นของภาพกระจายเป็นจุดๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเรมบรานท์ที่ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังมากที่สุด ประติมากรรม ผลงานประติมากรรมสมัยบารอค มีลักษณะรูปแบบศิลปะที่แสดงองค์ประกอบอันวิจิตรอลังการเช่นเดียวกับจิตรกรรมแสดงท่วงท่าอย่างโลดโผนคล้ายการแสดงละครเบอร์นินี เกิดในครอบครัวประติมากรมีชื่อเสียงเขาเป็นศิลปินทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมีโอกาสสร้างงานชุดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพประประกอบด้วยภาพ


แหล่งที่มา  http://art-west.weebly.com/3624363636213611363236103634361936293588.html


ศิลปะโรโกโก

       ศิลปะโรโกโก ปารกฎในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นแบบอย่างศิลปกรรมอีกแบบหนึ่งของบารอค หรือเป็นผลจากพัฒนาการของศิลปะบารอค นักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นศิลปะกลุ่มเดียวกับศิลปะบารอค

จิตรกรรมรอคโคโค

         มีลักษณะไม่แตกต่างจากงานประดับประดาตกแต่งทั่วไป จิตรกรจะเน้นรายละเอียดในการประดิษฐ์ตกแต่งส่วนประกอบย่อยมากมาย หรูหรา เกินธรรมชาติเพื่อเน้นในเกิดความหลงใหลในบรรยากาศแห่งภาพนั้น ๆ
ดนตรีคลาสสิก ศิลปะการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ดึงดำบรรพ์ในยุคกรีกและโรมันการดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ และกิจการทางศาสนาโดยเริ่มมาการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรีในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมื
อุปรากร ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงประเทสออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค และโมสาร์ท ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่
กรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่น ๆ จำนวนมากในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรปนักดนตรีและคตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนักศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสุมส่ง


วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เราเป็นคนยุคไหน ?




โพสต์ โมเดิร์น” “หลังสมัยใหม่ ในภาษาอังกฤษคือ post-modern หรือบ้างก็เขียนว่า postmodern หรือ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism, โพสต์โมเดิร์นนิสม์)


เป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ “อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน” (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)

นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง”สำนึก” ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย(ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว

ลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ “สมัยใหม่” กับ “หลังสมัยใหม่” ชัดเจนขึ้น

“หลังสมัยใหม่” เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน “ความเป็นสมัยใหม่” หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน “ความเจริญ” หรือ “ความก้าวหน้า” แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ “สมัยใหม่” ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ “หลังสมัยใหม่” มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ “ศิลปะกระแสหลัก” ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดู

ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องโรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ “คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์” (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ “หลังสมัยใหม่” เอาไว้ว่า “คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น “ลูกผสม” แทนที่จะ “บริสุทธิ์”, “ประนีประนอม” แทนที่จะ “สะอาดหมดจด”, “คลุมเครือ” แทนที่จะ “จะแจ้ง”, “วิปริต” พอๆกับที่ “น่าสนใจ”

ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า “หยิบยืมมาใช้” (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้าง

ในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ “หลังสมัยใหม่” ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)